Site icon บริษัท สำนักงานบัญชีกรุงเทพ (2009) จำกัด

ธุรกิจที่ต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติลงทุน

ธุรกิจเหล่านั้น แบ่งออกเป็น 3  ประเภท ดังนี้

ด้วยเหตุผลพิเศษ เช่น การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์   การทำนา ทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ การทำป่าไม้ การแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ การทำการประมง การสกัดสมุนไพรไทย   การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศและการค้าที่ดิน

ธุรกิจต่อไปนี้ที่ห้าม ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ   ห้ามทำธุรกิจ อันมีผลกระทบต่องานศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือธุรกิจที่มีผลกระทบ   ต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศชาติ
ธุรกิจต่อไปนี้ที่ห้าม ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ดำเนินการลงทุนเกี่ยวกับอาชีพที่คนไทยยังไม่มีความพร้อม   หรือความสามารถที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว

ในปี 2566  ต่างชาติแห่ลงทุนในไทย กว่า  1.3  แสนล้าน เรามาดูกันว่ามีชาติใดบ้างและธุรกิจใดบ้าง

10 ประเภทธุรกิจต่างชาติสนใจลงทุนในไทย ในปี 2566

อันดับที่ 1 บริการรับจ้างผลิต  (33.4%)
อันดับที่ 2 บริการด้านคอมพิวเตอร์  (1.1%)   ( แอปพลิเคชัน/ซอฟต์แวร์ / e-Commerce)
อันดับที่ 3 บริการให้คำปรึกษา (6.1%)
อันดับที่ 4 ค้าส่งสินค้า จำนวน 58 ราย (8.7%) ทุน 7,873 ล้านบาท (6.2%)
อันดับที่ 5 บริการด้านวิศวกรรม (2.2%)
อันดับที่ 6 บริการให้เช่า สินค้า ที่ดิน อาคาร  (12.6%)
อันดับที่ 7 ค้าปลีกสินค้า  (1.3%)
อันดับที่ 8 บริการด้านการเงิน สินเชื่อ รับค้ำประกัน  (5.3%)
อันดับที่ 9 คู่สัญญาเอกชน ก่อสร้างโครงการ ขุดเจาะน้ำมัน (0.5%)
อันดับที่ 10 นายหน้า  (1.3%)

10 ประเทศที่ลงทุนในไทย ในปี 2566

1. ญี่ปุ่น (25.2%)
2. สิงคโปร์
3. สหรัฐอเมริกา
4. จีน
5. ฮ่องกง
6. เยอรมนี
7 .สวิตเซอร์แลนด์
8. เนเธอร์แลนด์
9. สหราชอาณาจักร
10. ไต้หวัน

การขอประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ

ปฎิเสธไม่ได้ว่า ประเทสไทยนี้เป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ เป็นจำนวนมาก ที่จะมาลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งจะมีหลายๆเรื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นการจัดตั้งบริษัทฯ
การประกอบธุรกิจมีอะไรทำได้ ทำไม่ได้ หรือต้องขออนุญาต  และจดำเนินการอย่างไรบ้าง  เราจะมาดูรายละเอียดกันค่ะ

ผู้ประกอบธุรกิจ :

1. บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
2. นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในไทย
3. นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบคคลหรือนิติบุคคลตามข้อ 1 หรือ 2
4. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลในข้อ 1, 2 หรือ 3

ธุรกิจในไทยที่คนต่างชาติไม่สามารถทำได้

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว  ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท   บางประเภทต้องขออนุญาตก่อน
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 บัญชี ดังนี้

บัญชีหนึ่ง   เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ มีดังนี้

  • กิจการหนังสือพิมพ์   สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
  • การทำนา ทำไร่ ทำสวน
  • การเลี้ยงสัตว์
  • ป่าไม้  การแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
  • ประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจ จำเพาะของประเทศไทย
  • การสกัดสมุนไพรไทย
  • การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทยหรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
  • การทำหรือหล่อพระพุทธรูปและการทำบาตร
  • การค้าที่ดิน

2.  บัญชีสอง

หมวด 1. เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน  หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี    ได้แก่

1.1 การผลิต จำหน่าย และซ่อมบำรุง

(ก) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน วัตถุระเบิด
(ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด
(ค) อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางการทหาร
(ง) อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท

1.2 การขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบิน ในประเทศ

 

หมวด 2.  ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปะวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน

1. การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
2. การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
3. การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลาย ผ้าไหมไทย
4. การผลิตเครื่องดนตรีไทย
5. การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน
6. การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม

1. การผลิตน้ำตาลจากอ้อย
2. การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์
3. การทำเกลือหิน
4. การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
5. การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

3. บัญชีสาม เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าวคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้แก่

1. การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
2. การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
3. การทำป่าไม้จากป่าปลูก
4. การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด
5. การผลิตปูนขาว
6. การทำกิจการบริการทางบัญชี
7. การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
8. การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
9. การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
10. การก่อสร้าง ยกเว้น
(ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการ สาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร
เทคโนโลยี หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
11. การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
(ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตร
หรือตราสารทางการเงินหรือ หลักทรัพย์
(ข) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของ
วิสาหกิจในเครือเดียวกัน
(ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหา ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิต ในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจ
ระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ง) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
12. การขายทอดตลาด ยกเว้น
(ก) การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ
หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงาน ศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
(ข) การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
13. การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้
14. การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
15. การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
16. การทำกิจการโฆษณา
17. การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรงแรม
18. การนำเที่ยว
19. การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
20. การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
21. การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

ที่มา

https://www.dbd.go.th/download/foreign_file/pdf/foreing_basic.pdf
https://www.dbd.go.th/download/forign_law/howto/quiz.pdf
https://www.dbd.go.th/download/article/article_20170329141057.pdf

Exit mobile version