ไม่มีหมวดหมู่

บัญชีธุรกิจโรงแรม

บัญชีธุรกิจโรงแรมจะมีลักษณะเฉพาะ ไม่ว่าจะจัดการในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ทางเราก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำ ปรึกษา ซึ่งจะช่วยให้ท่านได้วางแผนภาษี นำตัวเลขไปใช้ในการบริหารธุรกิจของท่านได้ รวมทั้งลดช่องทางการรั่วไหล มีการควบคุมภายในได้เป็นอย่างดีด้วย ซึ่งเรามีประสบการณ์และความชำนาญ ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะธุรกิจของท่านได้เป็นอย่างดี

ประเทศไทยของเราถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ดังเรื่องการท่องเที่ยวระดับโลก อีกทั้งมีชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้าเรียน มาทำงาน มาอยู่อาศัยยามเกษียณ จึงเป็นโอกาสเหมาะสำหรับโรงแรมไม่ว่าขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ รีสอร์ท โฮมสเตย์ ที่ผุดขึ้นกันมากมาย

วันนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องรายได้ รายจ่าย และภาษี ที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม สถานที่ซึ่งให้บริการห้องพัก อาหาร ซักรีด ห้องจัดเลี้ยง และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจจะมีเคาท์เตอร์ทัวร์ รถบริการรับส่ง เพื่อความสะดวกของผู้มาใช้บริการ

รายได้ของกิจการโรงแรม

  1.  รายได้ค่าบริการ
    • ห้องพัก ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าซักรีด
    • ค่าเช่าสถานที่ ห้องจัดเลี้ยง
    • ค่าจอดรถ
    • ค่าสมาชิกต่างๆ
    • ค่าโทรศัพท์
    • ค่าโฆษณา
    • ค่าทัวร์นำเที่ยว รถรับส่ง
    • ค่านายหน้ากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

2. รายได้อื่นๆ

    • ร้านเครื่องประดับ
    • ร้านต่างๆที่เปิดขายสินค้า
    • ค่าเช่าร้าน

รายจ่ายของกิจการโรงแรม

1. เงินเดือนพนักงาน สวัสดิการต่างๆ เช่นอาหาร เครื่องแบบยูนิฟอร์ม
2. ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร
3. ค่าใช้จ่ายการตลาดต่างๆ
4. ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา
5. ค่าวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ เป็นต้น

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ที่ดินที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกรรม จะต้องเสียภาษีนี้ให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล อบต. กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา โดยต้องจ่ายชำระทุกปี

ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต
โรงแรมมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ต้องขออนุญาตและชำระค่าธรรมเนียม หากมีการนำเข้าสินค้า เครื่องดื่ม วัตถุดิบ ที่เกี่ยวเนื่องกับกรมศุลกากรก็ต้องชำระภาษีขาเข้า โดยอัตราภาษีของแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน จึงจะต้องศึกษาเพิ่มเติมที่
กรมศุลกากร

ภาษีเงินได้นิติบุคคล
โรงแรมที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีนี้ เช่นเดียวกับนิติบุคลลทั่วๆ ไป

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
กรณีที่โรแรมได้จดทะเบียนเป็นบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนฯ ก็มีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากผู้มีเงินได้ โดยต้องพิจารณาว่าเงินได้ที่เราจ่ายไปนั้นอยู่ในข่ายต้องหักไหม ซึ่งแยกตามเงินได้พึงประเมินดังนี้
1. จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ 40(2) ต้องคำนวณภาษีหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เงินเดือน ค่าตำแหน่ง ค่าเบี้ยประชุม เป็นต้น
2. จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) ถึง (8) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีแต่ละประเภท ซึ่งต้องพิจารณา

Note: การนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็ส่งได้ทั้งเป็นกระดาษ และทางออนไลน์

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ธุรกิจโรงแรมไม่ว่าจะได้จดทะเบียนเป็นบริษัท ห้างฯ หรือไม่ก็ตาม หากรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องไปจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกินกำหนด และเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% และนำส่ง ภพ.30 เป็นรายเดือนทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ข้อควรคิด: สำหรับผู้ประกอบการในนามบุคคลธรรมดา ต้องระมัดระวังว่าภาษีเงินได้ที่ต้องชำระนั้นก็จะสูง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *