Site icon บริษัท สำนักงานบัญชีกรุงเทพ (2009) จำกัด

บัญชีและภาษีที่ ผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา) ควรรู้

ธุรกิจประเภทรับเหมาก่อสร้าง บางครั้งเราอาจจะพบเจอในรูปแบบ

  1. การรับเหมาก่อสร้าง (ค่าวัสดุรวมค่าแรง)
  2. รับเหมาเฉพาะค่าแรงอย่างเดียว
  3. การขายวัสดุก่อสร้าง

วันนี้เราจะมาดูเรื่องธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกัน ธุรกิจนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีเรื่องของ

  1. การทำสัญญา
  2. การรับมัดจำก่อนลงมือทำงาน
  3. เก็บเงินตามงวดงานเรื่อยๆ จนงานเสร็จสิ้น
  4. การหักเงินประกันผลงานซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลง

รายได้ของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ก็จะถูกแบ่งประมาณนี้

  1. รายได้รับเหมาก่อสร้าง เป็นรายได้บริการ
  2. รายได้จาการขายวัสดุก่อสร้าง รายได้ประเภทนี้เป็นประเภทจากการขาย
  3. รายได้ค่าบริการล้วนๆ
  4. รายค่าคอมมิชชั่น
  5. รายได้อื่นๆ

เอกสารประกอบการทำบัญชี :

เอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชี มีประมาณ 3 ประเภท ดังนี้

  1. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก
  2. เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
  3. เอกสารที่จัดทำขึ้นเพิ่มใช้ในกิจการ

 

เอกสารประกอบการจ่าย

    • ใบเสร็จรับเงิน
    • ใบหักเงินค้ำประกันผลงาน
    • ใบสำคัญจ่าย
    • เอกสารงานค้ำประกันสัญญาก่อสร้าง
    • รายการเคลื่อนไหวทางธนาคาร (Bank Statement)
    • ใบขอเบิกเงินสดย่อย
    • ใบสรุปการเบิกชดเชยเงินสดย่อย
    • ใบเบิกเงินสำรองจ่าย
    • ใบเคลียร์เงินสำรองจ่าย
    • ใบนำฝากธนาคาร
    • หนังสือรับรองหักภาษี

 

เอกสารประกอบด้านการขาย

    • สัญญาจ้าง
    • ใบสั่งซื้อ
    • ใบเบิกงวดงาน
    • ใบกำกับภาษี เป็นต้น

เอกสารด้านการสั่งซื้อ

    • ใบสั่งซื้อ
    • ใบรับสินค้า
    • ใบกำกับภาษีซื้อ

ภาษีที่จะเกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จะมีประมาณนี้
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
3. อากรแสตมป์
4. ภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปีภาษี หรือวันที่มีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาท ต้องมีหน้าที่ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ยื่นจดไม่เกิน 30 วันนับ ตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี

ดังนั้นเมื่อผู้รับเหมารับค่าบริการ ก็ต้องมีหน้าที่เรียกเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของค่าบริการ และต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้จ้างด้วยเช่นกัน

ในแต่ละเดือนต้องจัดทำแบบ ภ.พ.30 พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) เป็นรายเดือนภาษีทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และสามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ภายในของกรมสรรพากร

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ผู้รับจ้างจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 3% และผู้ว่าจ้างจะนำส่งกรมสรรพากร พร้อมกับออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (หรือเรียกว่า ใบ 50 ทวิ) ให้กับผู้รับจ้าง เมื่อมีการชำระเงินต่อกัน ภาษีที่ถูกหักนี้เสมือนภาษีจ่ายล่วงหน้า หากปลายงวดผู้รับจ้างมีภาษีต้องชำระเท่าไร ก็นำยอดนี้มาหักออกได้ ถ้ามีต้องชำระเพิ่มก็ชำระเพิ่ม หากเป็นชำระเกินก็มีสิทธิ์ขอคืนได้เช่นเดียวกัน

อากรแสตมป์
ธุรกิจนี้จะมีการทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นสัญญาจ้างทำของ ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรแสตมป์และขีดฆ่าแสตมป์ ในอัตรา 1 บาท (0.10%) ต่อทุกจำนวนค่าจ้าง 1,000 บาท และเศษของ 1,000 บาท

ส่วนอากรแสตมป์นั้น สามารถหาซื้อได้ที่ กรมสรรพากรพื้นที่ หรือตามไปรษณีย์ เป็นต้น
หากยังไม่ทราบราคาแน่ชัด ก็สามารถประมาณจำนวนค่าจ้า แล้วเสียอากรแสตมป์ได้ หากการรับเงินค่าจ้างเป็นคราวๆ และอากรแสตมป์ที่เสียไว้เดิมไม่ครบนั้น ก็ให้เสียอากรแสตมป์เพิ่มให้ครบทันทีที่มีการรับเงิน

ส่วนเมื่อการรับจ้างเสร็จสิ้น และพบว่าได้เสียอากรแสตมป์เกินไป ก็สามารถขอคืนภาษีอากร แสตมป์ได้เช่นเดียวกัน

ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้รับเหมาที่เป็น บริษัทฯ และ ห้างหุ้นส่วนฯ ต่างก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจัดทำบัญชีตามมาตรฐานและยื่นแบบภาษี ภงด.50 ภงด.51 (ประมาณการกลางปี ) ตามกำหนดของกรมสรรพากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดา ก็จะยื่นแบบ ภงด.94 (กลางปี) และ ภงด.90 (ประจำปี)
ส่วนการคำนวณภาษีนั้น ได้ทั้งแบบเหมา หรือจ่ายจริง ทั้งนี้แนะนำ ให้ใช้บริการของสำนักงานบัญชี ผู้จัดทำบัญชี สำนักงานรับทำบัญชี ผู้เชี่ยวชาญภาษี จะช่วยพิจารณาวางแผนภาษีให้ ว่าควรเลือกแบบไหนดีกว่ากัน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญช่วยดำเนินการได้

รับงานในนามบุคคล หรือจัดตั้งบริษัทฯดี?
คำถามยอดฮิต ที่พบเจอมาเลยค่ะ ทำรับเหมาก่อสร้างในนามบริษัทฯ ก็มักจะมีสำนักงานบัญชีหรือพนักงานบัญชีที่มีความสามารถดูแลให้ แต่หากทำในนามบุคคลธรรมดา มักจะไม่มีที่ปรึกษา ดูแล บัญชีและภาษีให้ จึงค่อนข้างที่จะมีปัญหาได้
อยู่ที่งตรงนี้เป็นสำคัญ

 

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา
ต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ที่พบเห็น จะมีปัญหา เพราะความไม่รู้ เนื่องจากค่าบริการรับเหมาก่อสร้างนี้ เป็นเม็ดเงินที่ค่อนข้างเยอะ จึงส่งผลให้ค่าเบี้ยปรับภาษีก็มีจำนวนมากเช่นเดียวกัน บางคนก็จะได้รับการว่าจ้างต่อเนื่องโดยตรงมาจากเจ้าของอาคาร ที่เห็นฝีมืองานก่อสร้าง จึงติดต่อทาบทามกัน ลักษณะแบบนี้ต้องวางแผนภาษีนะคะ

การจัดทำบัญชีและนำส่งภาษีนั้น สำนักงานบัญชีกรุงเทพ(2009) ของเราพร้อมดู และนำส่งภาษี วางแผนภาษี ด้วยประสบการณ์อันยาวนานกว่า 20 ปี และกำลังพัฒนาเข้าสู่บุคคลากรรุ่นใหม่ “บัญชี ภาษี รุ่นใหม่ ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี”

Exit mobile version