ธุรกิจร้านทอง นี้เป็นธุรกิจที่มีรายได้สูงมาก ช่วงนึงกรมสรรพากรจึงกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ ภาษีร้านทอง ภาษีที่เกี่ยวข้องนั้นมีหลายเรื่อง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีอากรแสตมป์ ภาษีป้าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เดิมร้านทองที่ดำเนินกิจการในนามบุคคลธรรมดา มีอยู่เยอะมาก กรมสรรพากรได้มีมาตรการ แรงจูงใจ ด้านภาษี เพื่อสนับสนุนให้ร้านทองเข้ามาดำเนินกิจการ
ในนามนิติบุคคลกันมากขึ้น เพื่อให้ช่วยประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้น
ท่านใดที่กำลังดำเนินธุรกิจร้านทอง ที่อยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา ต้องวางแผนภาษีร้านทองให้ดี เพื่อให้การประกอบกิจการถูกต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และช่วยประหยัดภาษี
วางแผนภาษีเกี่ยวกับรายได้
รายได้หลักของธุรกิจร้านทอง มาจากการขายทองคำแท่ง ทองคำรูปพรรณ รวมทั้งอาจมีการรับขายฝาก การขายเครื่องประดับ การขายสินค้าอื่น การให้บริการอื่น เป็นต้น ประมาณว่า
1. ขายทองรูปพรรณ
1.1 ขายทองรูปพรรณใหม่ ให้กับลูกค้าทั่วไปที่มาซื้อ
1.2 ขายทองรูปพรรณเก่า ขายให้กับผู้ผลิตทองคำ หรือค้าส่งทองคำ เป็นต้น
2. ขายทองคำแท่ง
2.1 ขายหน้าร้าน
2.2 ขายออนไลน์ เป็นต้น
3. ขายฝากทองรูปพรรณ
เป็นการขายที่มีข้อตกลงว่าผู้ขายมีสิทธิ์ไถ่ทองคืนได้ ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจะมีค่าตอบแทนที่คำนวณตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาขายฝากให้กับร้านทอง
4. ขายสินค้าอื่น
เช่น ทองหุ้ม (ทองไมครอน) เครื่องประดับอัญมณี เป็นต้น
5. ให้บริการ
เช่น รับซ่อม การใส่กรอบพระ วัตถุมงคลชุบทอง เป็นต้น
รายจ่ายของร้านทอง
แต่ละรายอาจไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีคร่าวๆที่ใกล้เคียงกัน ส่วนรายอจ่ายอื่นๆก็นำมาประยุกต์ใช้งานได้
- ค่าซื้อสินค้า
ประมาณ ทองรูปพรรณใหม่ เก่า ทองคำแท่ง สินค้าอื่นๆ ที่ซื้อมาเพื่อขาย หรือเพื่อผลิต จัดทำใหม่ - ค่าจ้างช่าง
หมายถึงค่าจ้างช่างทำทอง หรือให้บริการในงานต่างๆในร้านทอง เช่น ซ่อมทอง ชุบทอง - ดอกเบี้ยจ่าย
- ค่าน้ำยา ต้นทุนที่ใช้ในการทำทอง ดูแลทอง ทำความสะอาดเครื่องประดับต่างๆ
- เงินเดือนพนักงาน ลูกจ้าง ผู้บริหาร
- ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต
- ค่าใช้จ่ายเดินทาง น้ำมัน ค่าเสื่อมรถยนต์
ภาษีเงินได้
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หากดำเนินกิจการในนามบุคคลธรรมดา จะถูกจัดเป็นเงินได้ตาม มาตรา40(8) สำหรับการขายทองหากมีเงินได้อื่นๆ ก็มาพิจารณาเป็นเรื่องๆไปและนำมาคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา ตามลำดับขั้น
สามารถหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ
1. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%
2. หักค่าใช้จ่ายตามจริงและสมควร
2. ภาษีงินได้นิติบุคคล
หากดำเนินกิจการในรูปแบบของนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็น บริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ โดยการนำจำนวนเงินรายได้ทั้งหมด หักด้วยค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้จะมีรายละเอียดหลายอย่าง ควรหาสำนักงานบัญชี ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้จัดทำและดูแลจะถูกต้องครบถ้วนกว่า เพื่อป้องกันความผิดพลาด และสามารถประหยัดได้
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ร้านทองที่มีเงินได้จากการขายสินค้า หรือให้บริการมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีภาษี ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อกรมสรรพากร
การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น
ให้นำราคาขายทองรูปพรรณรวมกำเหน็จ
หัก ด้วยราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศกำหนด
ผลลัพธ์ส่วนต่างให้นำมาคูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ผลลัพธ์คือค่าภาษีมูลค่าเพิ่มของทองรูปพรรณที่ขาย
ข้อสังเกตุ ** ทองคำแท่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีธุรกิจเฉพาะ กับ ร้านทอง
การรับจำนำ การให้กู้ยืมเงิน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ วิธีคำนวณภาษี คือ
- การรับจำนำ
เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายได้ดอกเบี้ยรับ รายได้ค่าธรรมเนียม หรือรายได้จากการขายของที่หลุดจำนำ
ในอัตราร้อยละ 2.75
2. การให้กู้ยืมเงิน
คำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยรับในอัตราร้อยละ 3.3
อากรแสตมป์กับร้านทอง
หากมีการทำสัญญา เช่น การให้กู้ยืมเงิน การรับจ้างทำของ การให้เช่า ฯลฯ
- ให้เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
ผู้ให้เช่ามีหน้าที่เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
ของค่าเช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า - การจ้างทำของ ผู้รับจ้างมีหน้าที่เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
ของค่าจ้างที่กำหนด - การให้กู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้มีหน้าที่เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ของทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท
ของยอดเงินที่ให้ก็ยืม ถ้าคำนวณแล้วเกิน 10,000 บาท ให้เสีย 10,000 บาท
ภาษีป้ายร้านทอง
ต้องมีหน้าที่เสียภาษีป้ายในอัตราภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
1.1 ป้ายที่มีข้อความที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 10 บาท ต่อขนาดป้าย 500 ตร.ซม.
1.2 ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 อัตราภาษีป้าย 5 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
2.ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และ/หรือปนกับภาพ และ/หรือเครื่องหมายอื่น
2.1 ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
2.2 ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ 2.1 อัตราภาษีป้าย 26 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
3.ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
3.1 ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
3.2 ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ 3.1 อัตราภาษีป้าย 50 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
ร้านทองจากฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ขายทองรูปพรรณ
คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณรวมค่ากำเหน็จ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หักด้วยราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศในแต่ละวัน
(ราคาขายทองรูปพรรณรวมค่ากำเหน็จ – ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศ) x 7% - ขายทองคำแท่ง
จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ดังนี้
– เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
– เป็นการขายทองคำแท่งที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณ
– ต้องแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.พ.01.3)
– ทองคำแท่งต้องมีน้ำหนักเนื้อทองไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5
– ผู้ขายต้องเป็นสมาชิกของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้าทองคำ หรืออัญมณี สมาคมใดสมาคมหนึ่ง - การขายฝาก
รายได้จากการขายฝาก คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในการทำสัญญาขายฝาก ดังนี้
– กรณีมีการกำหนดราคาขายฝากไว้ในสัญญาขายฝาก
มูลค่าสินไถ่ตามสัญญา – ราคาขายฝาก) x 7%
– กรณีไม่มีกำหนดราคาขายฝากไว้ในสัญญาขายฝาก
มูลค่าสินไถ่ตามสัญญา – (มูลค่าสินไถ่ตามสัญญา x 85%)) x 7%
และ การขายฝากนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการขายฝากทองคำที่ได้รับสิทธิคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างมูลค่าสินไถ่ ดังนี้
– เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
– มีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
– รับขายฝากทองรูปพรรณ - การขายทองรูปพรรณเก่า
การขายทองรูปพรรณเก่า จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับการขายทองรูปพรรณใหม่ - การขายสินค้าอื่น และการให้บริการ
การขายสินค้าอื่น และการให้บริการ ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานภาษีทั่วๆไป ฐานภาษี x 7%
การจัดทำใบกำกับภาษีของร้านทอง
เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องอออกใบกำกับภาษีเมื่อ
ร้านทองนำทองรูปพรรณเก่าไปแลกทองใหม่กับกิจการร้านทองที่รับซื้อ (ถือว่าเป็นการขายทองรูปพรรณเก่า) ร้านทองใดที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะใบเสร็จรับเงิน หรือใบรับให้กับร้านทองที่รับซื้อทองรูปพรรณ
การออกใบกำกับภาษีทำได้ 2 แบบ ดังนี้
- ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
ต้องระบุข้อความดังนี้ไว้ในใบกำกับภาษีด้วย
– ราคาขายทองรูปพรรณ(รวมค่ากำเหน็จ)
– ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศ
– ผลต่างระหว่างราคาขายกับราคารับซื้อคืนทอง
– จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม - ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในใบกำกับภาษี
– ราคาขายทองรูปพรรณ(รวมค่ากำเหน็จ)
– ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศ
– ผลต่างระหว่างราคาขายกับราคารับซื้อคืน
และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ร้านทองมีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ หากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลเป็นจำนวนมาก
โดยเป็นลักษณะของกิจการค้าปลีกหรือมีเงื่อนไขดังนี้
- ขายสินค้าที่ผู้ขายทราบแน่ชัดว่าขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภค หรือใช้สอยโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปจำหน่ายต่อ
- ให้บริการในลักษณะให้บริการรายย่อยกับบึคคลจำนวนมาก
- การขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อได้เรียกร้องให้ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ก็ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี (แบบเต็มรูป) และมอบใบกำกับภาษีดังกล่าวให้กับผู้ซื้อที่ร้องขอ
ส่วนกรณีที่มีการออกใบรับด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
ใบกำกับภาษี ต้องมีหมายเลขลำดับของใบรับที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ส่วนถ้าหากใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบกำกับภาษีด้วย ไม่ต้องระบุหมายเลขลำดับของใบรับ แต่ต้องมีเลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
มาใช้ประโยชน์ด้านภาษีซื้อ
การเฉลี่ยนภาษีซื้อกับร้านทอง
หากร้านทองประกอบธุรกิจหลายประเภท มีทั้งรายได้ที่ต้องเสียแวต และที่ไม่ต้องเสียแวต ร้านทอง สามารถนำภาษีซื้อมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ โดยจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ
หลักการเฉลี่ยภาษีซื้อ มีดังนี้
1.ภาษีซื้อของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยตรง
ถือเป็นภาษีซื้อทั้งจำนวน
2.ภาษีซื้อของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยตรง
ไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย แต่นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการได้
3.ภาษีซื้อที่ใช้ร่วมกันในกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ
การโอนกิจการร้านทอง เพื่อจดทะเบียนนิติบุคคล (บริษัท จำกัด)
การโอนเปลี่ยนจากผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ไปเป็นนิติบุคคล
- .ด้านผู้โอนกิจการ
1.1 ยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแจ้งโอนกิจการ และแจ้งเลิกประกอบการ และส่งคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ หน่วยจดทะเบียนที่สถานประกอบการตั้งอยู่ในปัจจุบัน ก่อนวันที่จะมีการโอนกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน - ด้านผู้รับโอนกิจการ
2.1 ผู้รับโอนที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ หน่วยจดทะเบียนที่สถานประกอบการของผู้รับโอนตั้งอยู่ ก่อนวันรับโอนกิจการทั้งหมดไม่น้อยกว่า 15 วัน
2.2 ผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อแจ้งการรับโอนกิจการทั้งหมด ณ หน่วยจดทะเบียนที่สถานประกอบการของผู้รับโอนตั้งอยู่ ก่อนวันรับโอนกิจการทั้งหมดไม่น้อยกว่า 15 วัน
การจัดตั้งเป็นนิติบุคคลของผู้รับโอนกิจการ
1. บริษัท จำกัด มีผู้ถือหุ้น 2 ท่านขึ้นไป
2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ท่านขึ้นไป
3.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไร จะมีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนจะเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
กล่าวโดยสรุปก็คือ ต้องวางแผนภาษีว่าเราจะดำเนินแบบไหนดีที่สุด โดยคำนึงถึงรายละเอียดต่างๆของแต่ละร้าน แม้จะใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด จึงควรหาผู้เชี่ยวชาญมาวางแผน จึงจะดีที่สุด