ภาษีเงินได้ร้านอาหารกับบุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การขายอาหารเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) สามารถคำนวณหักค่าใช้จ่ายเหมา หรือตามจริงก็ได้ แล้วแต่การวางแผนภาษี ว่าวิธีใดประหยัดภาษีและเหมาะสม ค่าลดหย่อนก็หักได้แบบบุคคลเลย การมีเงินได้ตามมาตรานี้ ต้องยื่นแบบ ภงด.94 ภายในเดือนกันยายน ของทุกปี และยื่นแบบภาษี ภงด.90 ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี(ปีถัดไป) สามารถยื่นเป็นแบบฟอร์มกระดาษ หรือยื่นออนไลน์ ได้ที่ www.rd.go.thการคำนวณภาษีเงินได้นี้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนแล้ว หากมีเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทnก็ไม่ต้องชำระภาษี หากเกินขึ้นมา ก็จะมีอัตราภาษีเป็นลำดับขึ้นไป ซึ่งอัตราสูงสุดก็จะอยู่ที่ 35 % ส่วนของภาษีเงินได้นี้ เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็ควรจะวางแผนภาษีเป็นลำดับถัดไปด้วยว่า ควรดำเนินการอย่างไรต่อไปดี เพื่อประหยัดภาษี และสิทธิอื่นๆ - ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ หากมีรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องไปดำเนินการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่มีหน้าที่ต้องหัก
- ภาษีโรงเรือน ต้องชำระภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง
- ภาษีป้ายมีหน้าที่ต้องชำระทุกปี ต่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดเก็บตามประเภทของป้าย เช่น ภาษาไทยล้วน หรือปนกับภาษาต่างประเทศ หรือมีรูปภาพ ซึ่งต้องไปดูเรื่องอัตราภาษีป้ายอีกครั้ง
- ภาษีเงินได้ธุรกิจอาหาร สำหรับนิติบุคคล
สำหรับเจ้าของกิจการร้านอาหารที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจดทะเบียนบริษัทฯ หรือห้างฯ กฎหมายกำหนดให้ต้องทำบัญชีและภาษีจากผู้จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชี และยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถใช้บริการรับทำบัญชีจากสำนักงานบัญชีได้ เรามีความพร้อมที่จะให้บริการจัดทำบัญชี ดูแลภาษี วางแผนภาษี สำหรับกิจการร้านอาหารที่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล และในต่างจังหวัด เพื่อดูแลและจัดทำบัญชี ส่งภาษี ยื่นแบบภาษี ให้ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้ท่านใช้ตัวเลขไปในการควบคุมภายในของกิจการของท่านด้วย
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการร้านอาหารในนามนิติบุคคล มีดังนี้
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
จะคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษี มาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีของนิติบุคคลเรา เช่น ธุรกิจเอสเอ็มอี หรือธุรกิจทั้วไป ก็จะมีอัตราภาษีที่แตกต่าง และต่างกันตามช่วงเวลาที่กรมสรรพากรประกาศอัตราภาษีในช่วงนั้นๆรายได้หัก ค่าใช้จ่าย ก็จะได้เป็นยอดกำไรสุทธิ แล้วก็ต้องนำมาปรับปรุงตาม ม.65 ว่าอะไรหักได้ อะไรหักไม่ได้ ตรงนี้ควรใช้บริการจากสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ เนื่องจากมีรายละเอียดพอสมควร
ธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี และมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับสิทธิภาษีในอัตราของ SME ดังนี้
กำไร 300,000 บาทแรก = ยกเว้นภาษี
กำไร 300,001 – 3 ล้าน = ภาษี 15%
กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป = ภาษี 20%
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมีการยื่นแบบชำระภาษี ปีละ 2 ครั้ง คือ
- ยื่นแบบชำระภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) / ชำระภาษีกลางปี ต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
- ยื่นแบบชำระภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) / ภาษีปลายปี ต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เมื่อมีบริการส่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Robinhood , Grab Food , Lineman , Shoppee Food เป็นต้น เมื่อมีการจ่ายค่าบริการให้กับบริษัทดังกล่าว หรือมีการทำโฆษณาโปรโมทร้าน เรามีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนด ซึ่งแตกต่างกันตามประเภทการให้บริการ ตั้งแต่ 1%-5% และมีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ตามประเภท
– ภ.ง.ด.53 ยื่นแบบในกรณีที่เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายกับนิติบุคคล ทั้งบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
– ภ.ง.ด.3 ยื่นแบบเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายกับบุคคลธรรมดา เช่น มีการจ้างลูกจ้างรายวันหัก 3%
ทั้งนี้ยื่นภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ที่สรรพากรเขต
3. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
4.ภาษีป้าย
5.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
กล่าวโดยสรุป คือ
การประกอบธุรกิจร้านอาหารนี้ สามารถกระทำการได้ทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งก็จะมีเรื่องของการเสียภาษีที่เหมือนและต่างกัน ควรคำนึงถึงหลายๆด้าน วางแผนภาษี การประกอบธุรกิจของแต่ละบุคคลนั้นมีตัวแปรหลายๆอย่าง ที่ต่างกัน จึงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานบัญชี
ประเทศไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว ต่างชาติหลั่งไหลเข้ามา บ้างก็ตั้งหลักปักฐานยามวัยเกษียณ บ้างก็มาประกอบธุรกิจ จำนวนไม่น้อย อาหารไทยก็เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจลงทุน