กรณีการขออนุญาตทำงานครั้งแรก / ใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงต้องขอใหม่

คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงาน
1.  มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง  โดยมิใช่เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือ ผู้เดินทางผ่าน
2.   มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
3.   ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟืองไม่สมประกอบ
      ไม่เป็นโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือระยะปรากฎอาการอันน่ารังเกียจต่อสังคม
      ไม่เป็นวัณโรคในระยะติดต่อ
      ไม่เป็นโรคเท้าช้าง ในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
      ไม่เป็นโรคติดยาเสพติด
      ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
4.   ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคน ต่างด้าว ภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต
เอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน
  • แบบคำขอ  บต.25
  • รูปถ่ายขนาด 3 x 4 ซม. จำนวน 3 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ)
  • หนังสือรับรองการจ้างที่กรอกข้อมูลครบถ้วน
  • สำเนาหนังสือเดินทาง หรือ สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่
  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมฉบับจริง
  • สำเนาหลักฐานการศึกษา หรือกรอกข้อมูลตามแบบที่กำหนด
  • สำเนาเอกสารแสดงการอนุญาตหรือการรับรองให้ประกอบวิชาชีพ (ในกรณีเป็นงานที่กฎหมายกำหนด
  • ให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องได้รับการอนุญาตหรือการรับรอง )
  • ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองว่าผู้ขอไม่มีโรคต้องห้ามตามคุณสมบัติข้อ 3 ในข้างต้น (ไม่เกิน 1 เดือนหรือตามที่แพทย์ระบุ)
  • หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ติดอาการแสตมป์ 10 บาท กรณีมอบอำนาจ )
  • หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท กรณีมอบอำนาจ)  และ
    • กรณีนายจ้างเป็นคนไทย  ให้แนบสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้าง
    • กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว  ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง
หมายเหตุ: หากนายจ้างไม่ได้ทำงานในไทย และไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องให้ Nontary Public  และสถานฑูตไทยรับรองการมอบอำนาจใหกรรมการ หรือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน

 

เอกสารประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ (นายจ้าง)
1. สถานประกอบการเอกชน
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไทย ( ไม่เกิน 6 เดือน )
  • กรณีเป็นนิติบุคคลต่างด้าว ใช้สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พร้อมหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายในไทย
  • สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.01 ที่ระบุประเภทกิจการ
  • สำเนา ภพ.09 (หากมีการเปลี่ยน / เพิ่มประเภทธุรกิจ)
  • สำเนาหลักฐานกรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสือ
  • อนุญาตให้ดำเนินการจากหน่วยงานของรัฐ เช่น หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน / อนุญาตประกอบกิจการโรงแรม  ฯลฯ
  • หลักฐานการนำส่ง / จ่ายเงินประกันสังคม ( 1 เดือน )
  • สำเนางบการเงิน (ปีล่าสุด )
  • สำเนา ภพ.30 พร้อมใบเสร็จ ( 3 เดือน )
หมายเหตุ: เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย และรับรองความถูกต้องโดยผู้มีใบอนุญาต /หน่วยงานราชการ
สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือรับรองดังนี้
  • เอกสารของนายจ้าง ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อพร้อมตราประทับ(หากมี)
  • เอกสารคนต่างด้าว ให้ต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรอง
  • ผู้รับมอบอำนาจ ต้องแสดงบัตรประชาชนตัวจริงต่อเจ้าหน้าที่

 

วีซ่าและใบอนุญาตทำงาน

สำหรับชาวต่างชาติหลายคน ประเทศไทยถือเป็นประเทศในฝันที่อยากจะมาใช้ชีวิตอยู่และการทำงานหรือเปิดธุรกิจในประเทศไทยก็ถือเป็นหนึ่งทางเลือกที่เป็นที่นิยม และมีความเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งชาวต่างชาติทุกคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงาน แม้ว่ากระบวนการการขอใบอนุญาตทำงานค่อนข้างมีความซับซ้อน แต่การมีใบอนุญาตทำงานจะช่วยให้ชาวต่างชาติสามารถใช้สิทธิ และได้รับประโยชน์ในฐานะลูกจ้างในประเทศไทยนอกจากนี้ การทำงานในไทยโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานในครอบครองจะมีบทลงโทษตามกฎหมาย

ก่อนที่ชาวต่างชาติจะตัดสินใจย้ายมาทำงานที่ประเทศไทย ควรเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐาน คุณสมบัติรวมถึงเอกสารที่จำเป็นต่างๆ ในการขอใบอนุญาตทำงานและวีซ่าทำงา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าชาวต่างชาติจะสามารถอยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและราบรื่น โดยแนวทางขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยนี้จะช่วยอธิบายกระบวนการและหัวข้อสำคัญที่ควรรับรู้

วีซ่าทำงาน และใบอนุญาตทำงาน ต่างกันอย่างไร?

ในบางประเทศ วีซ่าทำงานและใบอนุญาตทำงานอาจเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ไม่ใช่กับในบางประเทศ วีซ่าทำงานและใบอนุญาตทำงานอาจเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ไม่ใช่กับประเทศไทย ชาวต่างชาติที่สนใจมาทำงานในไทยอาจเกิดความสับสน และเข้าใจว่าเมื่อได้รับวีซ่าทำงานแล้วจะสามารถเริ่มทำงานในประเทศไทยได้ทันทีโดยไม่ต้องดำเนินการใดๆต่อ แต่นั่นเป็นความเข้าใจทั้งวีซ่าทำงาน และใบอนุญาตทำงานควบคู่กัน และทั้งสองสิ่งนี้ไม่สามารถนำมาใช้แทนกันได้

บุคคลใดก็ตามที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยและมีความประสงค์ที่จะทำงานในประเทศไทยจะต้องยื่นขอวีซ่าทำงานจากประเทศของตน โดยวีซ่าที่สามารถนำมาใช้ขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยได้มีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบุคคล เช่นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว B (Non-immigrant B) และวีซ่าแต่งงานในกรณีที่แต่งงานกับคนไทยเป็นต้น ซึ่งวีซ่าสำหรับทำงานนี้จะถูกออกโดยสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ โดยจะมีการประทับตราไว้บนหนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ
ใบอนุญาตทำงานจะสามารถขอได้เมื่อชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้วโดยใช้วีซ่าทำงานที่เหมาะสม ซึ่งใบอนุญาตทำงานจะเป็นเอกสารทางราชการที่ออกโดยกระทรวงแรงงาน และจะระบุข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของชาวต่างชาติ เช่น อาชีพ ตำแหน่ง บริษัทผู้ว่าจ้าง เป็นต้น และใบอนุญาตนี้จะทำให้ผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยสามารถปฏิบัติงานหรือดำเนินธุรกิจในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง

ประเภทของวีซ่าทำงาน
วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่ชาวต่างชาติสามารถยื่นขอเพื่อใช้ทำงานได้มีอยู่หลายหลายประเภท โดยชาวต่างชาติจะต้องเลือกขอวีซ่าที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและคุณสมบัติรวมถึงงานที่จะทำในประเทศไทย นอกจากนี้ชาวต่างชาติควรศึกษาพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ระบุรายการกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่สามารถดำเนินโดยชาวต่างชาติได้ ก่อนที่จะเริ่มทำงานหรือดำเนินกิจการใดๆในประเทศไทย

ด้านล่างนี้คือคำอธิบายของแต่ละประเภทวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวที่ชาวต่างชาติสามารถยื่นขอได้

  1. วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B (เพื่อการทำงานและประกอบธุรกิจ)
  2. วีซ่าประเภทนี้เป็นวีซ่าสำหรับทำงานและประกอบธุรกิจทั่วไปที่ชาวต่างชาตินิยม ขอกันมากที่สุด โดยชาวต่างชาติจะต้องยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ในประเทศของตนเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ เป็นเวลา 90 วัน และเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานภายใน 90 วันแล้ว ชาวต่างชาติจะสามารถดำเนินเรื่องขอต่อระยะเวลาวีซ่าเป็น 1 ปีในประทศไทยได้โดยมีบริษัท ผู้ว่าจ้างคอยช่วยเหลือ
  3. วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B-A (สำหรับธุรกิจที่ได้รับอนุมัติ)โดยทั่วไปแล้ววีซ่าประเภทนี้จะออกให้แก่ชาวต่างชาติที่ลงทุนในธุรกิจในประเทศไทยซึ่งบริษัทที่เกี่ยวข้องในไทยสามารถช่วยเหลือในการขอวีซ่าให้กับนักลงทุน ชาวต่างชาติได้ และวีซ่าจะมีระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ตาม การออกวีซ่าประเภทนี้ ไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่สถานทูต หรือเจ้าหน้าที่กงสุลที่รับผิดชอบ
  4. วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท IB (เพื่อการลงทุนและธุรกิจ)
  5. วีซ่าประเภทนี้คือวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานหรือร่วมโครงการที่ได้ รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งเป็นโครงการที่อนุมัติโดยบีโอไอว่ามีส่วนช่วยสร้างประโยชน์แก่ประเทศไทย
  6. วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท M (สำหรับสื่อมวลชน)
  7. วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท M จะออกให้กับชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามายัง ประเทศไทยเพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อต่างๆ เช่น สื่อทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือสื่อออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งอาจจะต้องมีการขออนุมัติเพิ่มเติมจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อและงานที่จะทำวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท O (สำหรับครอบครัวผู้ติดตาม) หากชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าทำงานมีความประสงค์ที่จะให้คู่สมรส หรือสมาชิกใน ติดตามมายังประเทศไทยด้วย ผู้ติดตามดังกล่าวจะต้องยื่นขอ
  8. วีซ่าคนอยู่ชั่วครา ประเภท O นอกจากนี้ วีซ่าประเภทนี้จะออกให้กับชาวต่างชาติที่เข้ามาปฏิบัติงาน อาสาสมัคร ผู้ที่แต่งงานกับชาวไทย และผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณในไทย
  9. สมาร์ท วีซ่า (Smart Visa)เป็นวีซ่าประเภทใหม่ที่ออกให้กับผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติที่มีทักษะ และประสบการณ์ตามที่ได้ระบุไว้ รวมถึงนักลงทุน ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ผู้บริหารระดับสูง และครอบครัวของผู้ถือสมาร์ท วีซ่าด้วย โดย เหล่านี้จะต้องทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่นเทคโนโลยีชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ชีวเคมี และอื่นๆ ผู้ที่ได้รับสมาร์ท วีซ่าจะสามารถอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 4 ปี และได้รับ สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการยกเว้นใบอนุญาตทำงานด้วย เมื่อได้รับวีซ่าที่เหมาะสมแล้ว ในขั้นตอนถัดไป ชาวต่างชาติจะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานโดยการช่วยเหลือจากบริษัทผู้ว่าจ้าง ซึ่งชาวต่างชาติจะต้องมีใบอนุญาตทำงานก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานใดๆ

คุณสมบัติในการขอใบอนุญาตทำงาน
ชาวต่างชาติที่สนใจทำงานในประเทศไทยจะต้องรับทราบว่าไม่ใช่ทุกบริษัทหรือองค์กรที่จะสามารถดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานให้กับพนักงานต่างชาติได้
ในการขอใบอนุญาตทำงานนั้น ทั้งบริษัทและชาวต่างชาติจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในข้อกฎหมาย

คุณสมบัติทั่วไปสำหรับบริษัทมีดังนี้:
o จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย
o มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 2 ล้านบาทต่อหนึ่งใบอนุญาตทำงาน
o มีพนักงานคนไทย 4 คนต่อหนึ่งใบอนุญาตทำงาน
o หากเป็นบริษัทที่จดทะเบียน(ในต่างประเทศ) ต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 3 ล้านบาทต่อหนึ่งใบอนุญาตทำงาน
o ในกรณีที่เป็นบริษัทภายใต้การส่งเสริมโดยบีโอไอ คุณสมบัติบางประการจะได้รับการยกเว้น ถึงอย่างนั้น บริษัทจะต้องดำเนินการแจ้งอธิบายกับบีโอไอถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ้างพนักงานต่างชาติมาปฏิบัติงาน

บุคคลต่างชาติที่จะดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานจำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายระบุไว้เช่นเดียวกัน ประกอบด้วย:
o มีวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวที่เหมาะสม
o ได้รับข้อเสนองานจากบริษัทในประเทศไทย
o มีประวัติการศึกษาและการทำงานที่สอดคล้องกับหน้าที่ที่จะปฏิบัติในประเทศไทย
o มีร่างกายแข็งแรง โดยปราศจากโรคร้ายแรง หรือการติดสารเสพติดใดๆ
o เอกสารที่ต้องใช้เพื่อขอใบอนุญาตทำงานในกรณีส่วนใหญ่แล้ว บริษัทผู้ว่าจ้างจะทำหน้าที่ช่วยจัดเตรียม และยื่นเอกสารขอใบอนุญาตทำงานซึ่งจะสามารถทำก่อนหรือหลังที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยก็ได้อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติจะต้องไปแสดงตัวในวันที่ไปรับใบอนุญาตทำงานจากกระทรวงแรงงาน

รายการเอกสารที่ต้องใช้ทั้งจากบริษัท และบุคคลต่างชาติ

เอกสารจากบริษัท:

o แบบฟอร์มขอใบอนุญาตทำงาน
o ใบจดทะเบียนนิติบุคคล และรายชื่อผู้ถือหุ้น
o ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และหลักฐานการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
o แบบชำระเงินสมทบประกันสังคม
o หลักฐานการยื่นภาษีนิติบุคคล
o สัญญาจ้างงานระหว่างบริษัทและบุคคลต่างชาติ
o เอกสารจากพนักงานต่างชาติ:
o หนังสือเดินทางตัวจริง และสำเนาหน้าตราประทับวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว,
o หน้าตราประทับขาเข้าประเทศไทยล่าสุด และหน้าแรกที่มีรูปถ่ายหน้าตราประทับขาเข้าประเทศไทยล่าสุด และหน้าแรกที่มีรูปถ่าย
o สำเนาหนังสือรับรองการทำงาน
o สำเนาใบรับรองการศึกษา หรือใบปริญญา
o ใบรับรองแพทย์ที่เพิ่งออกไม่นานนี้
o รูปถ่ายขนาด 3×4 เซนติเมตร ที่ถ่ายไม่เกินหกเดือน
o หนังสือรับรอง และใบอนุญาตอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
สำเนาของเอกสารตัวจริงทุกฉบับจะต้องมีการเซ็นรับรอง นอกจากนี้เอกสารบางรายการอาจต้องมีการแปลเป็นภาษาไทย โดยเฉพาะเอกสารที่มีต้นฉบับเป็นภาษาอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ดังนั้นทั้งบริษัทและพนักงานต่างชาติจึงควรเตรียมเอกสารไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตทำงาน
เมื่อเตรียมเอกสารที่จำเป็นทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว พนักงานต่างชาติหรือบริษัทผู้ว่าจ้างเมื่อเตรียมเอกสารที่จำเป็นทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว พนักงานต่างชาติหรือบริษัทผู้ว่าจ้างจะต้องยื่นเอกสารขอใบอนุญาตทำงานที่กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ หากเป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมโดยโดยบีโอไอ จะต้องมีการแจ้งขอไปที่บีโอไอก่อน จากนั้นจะมีการออกใบอนุญาตทำงานผ่านทางศูนย์บริการ One Stop Service

ขั้นตอนที่ 1: ขอวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวที่เหมาะสม
ตามที่ได้กล่าวมานั้น การจะขอใบอนุญาตทำงานได้ ชาวต่างชาติจะต้องมีวีซ่าทำงาน หรือวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวเพื่อปฏิบัติงานในไทย ซึ่งวีซ่านี้สามารถดำเนินการขอได้ที่สถานทูต หรือกงสุลประเทศไทยในต่างประเทศ ในกรณีที่ชาวต่างชาติอยู่ในประเทศไทยถือวีซ่านักท่องเที่ยว จะต้องทำการเปลี่ยนแปลงวีซ่าไปเป็นวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวโดยวีซ่าประเภทนี้จะมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้หลังได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว
เอกสารที่ต้องใช้ในการขอวีซ่าอาจแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานทูตหรือสถานกงสุลในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ เอกสารทั่วไปที่ต้องใช้ประกอบด้วย:
แบบฟอร์มการขอวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว
เอกสารเสนองานจากนิติบุคคลในไทย
หนังสือเดินทางตัวจริงที่มีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือน
สัญญาจ้างระหว่างบริษัทในไทยและบุคคลต่างชาติ
หนังสือเชิญจากบริษัทผู้ว่าจ้างที่ระบุรายละเอียดการทำงาน
เอกสารอื่นๆตามแต่สถานทูตหรือสถานกงสุลจะแจ้งขอ

ขั้นตอนที่ 2: การขอใบอนุญาตทำงาน
การขอใบอนุญาตทำงานควรจะแล้วเสร็จภายใน 90 วัน ก่อนที่วีซ่าคนอยู่ชั่วคราวของชาวต่างชาติจะหมดอายุ โดยหนังสืออนุญาตทำงานจะออกให้กับชาวต่างชาติโดยกระทรวงแรงงาน ซึ่งทั้งบริษัทผู้ว่าจ้าง และบุคคลต่างชาติจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงแรงงานระบุไว้สำหรับการยื่นขอใบอนุญาตทำงานที่มีคุณสมบัติตรงกับเงื่อนไขบางประการ หรือเป็นการยื่นภายใต้บริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยื่นเอกสารเพื่อดำเนินการ
ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งวันได้ที่ศูนย์บริการ One Stop Service

ขั้นตอนที่ 3: การอนุมัติใบอนุญาตทำงาน

เมื่อทำการยื่นเอกสารทั้งหมดแล้ว ผู้ขอใบอนุญาตจะได้รับเอกสารยืนยันที่ระบุวันที่ให้มารับใบอนุญาตทำงาน และในวันที่มารับ ชาวต่างชาติที่ขอใบอนุญาตทำงานจะต้องเดินทางมาด้วยตนเองพร้อมกับหนังสือเดินทางตัวจริง เพื่อนำมาประทับตราโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน
กระบวนการในการอนุมัติจะใช้เวลา 7-10 วันทำการหากเป็นการยื่นเอกสารที่กรุงเทพฯ แต่ในกรณีที่ดำเนินการในจังหวัดภูเก็ตอาจใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
ใบอนุญาตทำงานจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี และจะต้องมีการต่ออายุหากชาวต่างชาติยังมีความประสงค์จะทำงานในประเทศไทยต่อ ทั้งนี้เงื่อนไขอาจแตกต่างไปหากเป็นบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนโดยบีโอไอหลังได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว พนักงานต่างชาติจะต้องดำเนินการขอต่อวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวจาก 90 วัน เป็นหนึ่งปี
ข้อจำกัด และความรับผิดชอบของการมีใบอนุญาตทำงาน
ชาวต่างชาติที่ถือใบอนุญาตทำงานจะสามารถทำงานภายใต้บริษัทและหน้าที่ที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น การทำงานใดๆที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้จะถือเป็นความผิดและมีบทลงโทษ เช่นการปรับและจำคุก นอกจากนี้ ในการรักษาใบอนุญาตให้คงอยู่จนถึงวันหมดอายุนั้น ชาวต่างชาติมีหน้าที่ที่ต้องทำดังต่อไปนี้
การยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล
พนักงานต่างชาติจะต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจากกรมสรรพากร ซึ่งมีกระบวนการที่ค่อนข้างง่ายและใช้เวลาเพียงวันเดียวหากเอกสารทั้งหมดครบถ้วนและถูกต้อง เมื่อมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีแล้ว พนักงานต่างชาติจะสามารถยื่นรายการภาษีเงินได้ประจำปีของตนได้
การรายงานตัว 90 วัน
ชาวต่างชาติทุกคนที่มาอยู่ประเทศไทยเป็นเวลานานมีหน้าที่ในการรายงานตนและที่อยู่ ณ ปัจจุบันในประเทศไทยกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุกๆ 90 วัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการไปรายงานตัวด้วยตนเอง ผ่านทางไปรษณีย์ หรือมอบอำนาจให้เอเย่นต์ดำเนินการแทน
การขออนุญาตกลับเข้าประเทศไทย
หากวีซ่าที่ชาวต่างชาติถืออยู่เป็นแบบเดินทางเข้าได้ครั้งเดียว (single-entry visa)เดินทางออกนอกประเทศไทย ชาวต่างชาติจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอกลับเข้าประเทศเสียก่อน เนื่องจากวีซ่านี้เกี่ยวเนื่องกับใบอนุญาตทำงานโดยตรง ดังนั้นหากชาวต่างชาติออกนอกประเทศและทำให้วีซ่าถูกยกเลิก จะส่งผลต่อใบอนุญาตทำงานที่ถืออยู่ด้วย ซึ่งการขออนุญาติกลับเข้าประเทศไม่ว่าจะครั้งเดียวหรือมากกว่าหนึ่งครั้ง สามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือจุดบริการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบิน
การยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือต่ออายุใบอนุญาตทำงาน

การยกเลิกใบอนุญาตทำงาน
เมื่อสัญญาการจ้างงานจบลง บริษัทผู้ว่าจ้างจะต้องรายงานการเลิกจ้างกับทางกระทรวงแรงงานเพื่อให้ยกเลิกใบอนุญาตทำงาน และวีซ่าของชาวต่างชาติต่อไป โดยทั่วไปแล้วชาวต่างชาติจะขออยู่ในประเทศไทยต่อได้อีก 7 วันหลังใบอนุญาตทำงานและวีซ่าได้ถูกยกเลิกแล้ว

การเปลี่ยนงาน
หากชาวต่างชาติต้องการเปลี่ยนงานขณะอยู่ในประเทศไทย ชาวต่างชาติจะต้องทำการตกลงกับบริษัทผู้ว่าจ้างเกี่ยวกับวันเลิกจ้าง หรือวันที่จะต้องยกเลิกใบอนุญาตทำงานในขณะเดียวกัน บริษัทผู้ว่าจ้างใหม่จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับขอใบอนุญาตทำงานใหม่ในขณะเดียวกัน บริษัทผู้ว่าจ้างใหม่จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับขอใบอนุญาตทำงานใหม่และการขออยู่ต่อในประเทศไทยของชาวต่างชาติ หากการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยหมดอายุก่อนที่จะมีการยื่นเอกสารให้กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ชาวต่างชาติจะต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยเพื่อขอวีซ่าทำงานและใบอนุญาตทำงานใหม่อีกครั้ง
การต่ออายุใบอนุญาตทำงานใบอนุญาตทำงานจะต้องได้รับการต่ออายุก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
โดยชาวต่างชาติและบริษัทผู้ว่าจ้างจะต้องดำเนินการต่ออายุวีซ่าของชาวต่างชาติให้เรียบร้อย
เสียก่อน ซึ่งเอกสารที่ใช้ในการต่ออายุใบอนุญาตทำงานจะเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ใช้ใน
ครั้งแรกหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานใดๆ

ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมสำหรับวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B (เพื่อการทำงานและประกอบธุรกิจ):
ค่าธรรมเนียมสำหรับการเข้าประเทศครั้งเดียว (Single-entry) 2,000 บาท มีอายุสามเดือน
ค่าธรรมเนียมสำหรับการเข้าประเทศมากกว่าหนึ่งครั้ง (Multiple entries) 5,000 บาท มีอายุหนึ่งปี
ค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตทำงาน:
ค่ายื่นคำร้อง 100 บาท
ค่าใบอนุญาตทำงาน 750 บาท สำหรับใบอนุญาตที่มีอายุสามเดือน
ค่าใบอนุญาตทำงาน 1,500 บาท สำหรับใบอนุญาตที่มีอายุสามถึงหกเดือน
ค่าใบอนุญาตทำงาน 3,500 บาท สำหรับใบอนุญาตที่มีอายุหนึ่งปี
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าแปลและรับรองเอกสาร

การดำเนินเรื่องขอวีซ่าทำงาน และใบอนุญาตทำงานจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมที่ดีและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เพื่อให้มั่นใจว่าการเริ่มต้นทำงานหรือประกอบธุรกิจในประเทศไทยของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่นที่สุด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายจะสามารถช่วยให้คำปรึกษาที่ดีที่สุดในทุกขั้นตอน โปรดติดต่อเราเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลจากเวปสถานฑูตไทย